พาไปสัมผัสรากวัฒนธรรมสเต็กขวาน “ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak ” ของ Company B (บังโต ซิลลี่ฟูล)


“take up the tomahawk!” (จงหยิบขวานโทมาฮอว์คขึ้นมา!)


สมัยก่อนน่ะ…..     มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อๆกันมานานแสนนานว่าแถวบริเวณแม่น้ำ “รีโอแกรนด์” อันเป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างรัฐเท็กซัสของประเทศสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก ยังมีคาวบอยเท็กซัสกลุ่มหนึ่งเฝ้าดูแลเลี้ยงฝูงวัวกันตามปกติ จวบจนค่ำคืนหนึ่งพวกเขาอยากทดลองทำเมนูอาหารที่มันชวนประหลาดใจและตื่นเต้นเพื่อมอบแด่แขกผู้มาเยือนบ้าง หัวหน้าพ่อครัวของคาวบอยกลุ่มนี้จึงทดลองตัดเนื้อซี่โครงส่วนที่ใหญ่ที่สุดในตัววัวออกมา แล้วนำไปหมักเข้ากับเครื่องเทศของเม็กซิกันจนชุ่มฉ่ำ ก่อนนำไปย่างแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ(Medium Rere)บนตะแกรงยักษ์คล้าย “อาซาโด” (Asado) ย่างจนมันหอมฟุ้ง ปรากฏว่าเมนูอาหารที่ทำจากซี่โครงวัวชิ้นโตในค่ำคืนนั้นสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่แขกผู้มาเยือนเป็นอันมาก หลายคนถึงกับเดินเข้ามาสอบถามพ่อครัวว่าอาหารชนิดนี้มีชื่อว่าอะไร?  พ่อครัวตอบกลับไปอย่างภาคภูมิใจว่า สเต็กชิ้นโตนี้ชื่อ “คาวบอยสเต็ก” (Cowboy Steak) หรือ “โทมาฮอว์คสเต็ก” (Tomahawk Steak) ที่ได้ชื่อดังกล่าวอาจเพราะชิ้นเนื้อและส่วนของซี่โครงวัวมีลักษณะโค้งงอเล็กน้อยคล้ายด้ามของขวานโทมาฮอว์คซึ่งถือเป็นอาวุธประจำกายของชนพื้นเมืองเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกาก็ว่า และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ทุกครั้งที่พ่อครัวหรือเชฟตัดส่วนซี่โครงติดเนื้อชิ้นโตเพื่อทำเสต็ก เขาก็มักจะเรียกมันว่า “Tomahawk Steak” เสมอมาตราบปัจจุบัน 


พูดถึง Tomahawk Steak แล้วก็ขอเล่าต่อถึง “ขวานโทมาฮอว์ค” หรือ “Tomahawk Axe” ต่อสักหน่อยว่ามันเป็นรากวัฒนธรรมแบบอินเดียนแดงในอเมริกาที่ซึ่งหลายเผ่าต่างใชขวานโทมาฮอว์คในรูปเชิงสัญลักษณและพิธีการ โดยพวกเขาจะวางขวานนี้ไวบนพื้นดินในชวงที่มีพิธีกรรมร่วมกัน หรือประชุมตัดสินใจเรื่องการสูรบ หากผูนําของชนเผ่าต้องการสูรบ เขาจะหยิบขวานโทมาฮอว์คขึ้นแล้วชูเหนือศีรษะพร้อมกับเอ่ยประโยคที่ว่า “take up the tomahawk” ซึ่งหมายถึงเห็นดวยกับการสูรบทุกประการ แตหากผูนําของชนเผ่าฝังขวานโทมาฮอว์คไว้ใต้ผืนดินพร้อมเอื้อนเอ่ยถ้อยคำว่า “bury the tomahawk” นั่นหมายถึงการยุติสงคราม หรือขอยุติการสูรบครั้งนี้  พิมพ์มาถึงตรงนี้….(ตอนที่สเต็กโทมาฮอว์คชิ้นโตจาก “ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak ” ของ Company B ถูกส่งมาวางเอาไว้ตรงเบื้องหน้า) อยากจะตะโกนแบบหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงเสียเหลือเกินว่า “take up the tomahawk!” (จงหยิบขวานโทมาฮอว์คขึ้นมา!!) 555+


พูดถึงเนื้อ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak และการทำ Dry Aged เนื้อวัว  เอ่อ….เคยได้ยินมาซักพักหนึ่งล่ะแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ว่างๆจากหน้าที่การงานประจำเลยแอบกดหน้าจอคอมฯหาความหมายของ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak และการทำ Dry Aged เนื้อวัวของ Company B (ที่มีบังโต ซิลลี่ฟูล / นักร้องดังขวัญใจวัยรุ่นในอดีต)มาอ่านดูซักหน่อยดีกว่า สรุปความได้ประมาณ….  มันคือการบ่มเนื้อเพื่อให้เนื้อนุ่มขึ้นครับ  โดยเจ้าเนื้อ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak (ที่ผู้เขียนพึ่งสั่งซื้อมาจากทาง Company B)นี้เป็นเนื้อวัวสายพันธุ์ Holstein หรือวัวนมสีขาวดำ(เห็นว่าเป็นสายพันธุ์แท้ 100%) นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย พอน้องวัวสายพันธุ์ Holstein เข้าไทยแล้วก็เอามาทำการขุนต่อด้วยธัญพืชของไทยอีกราว 7-8 ชนิดเป็นเวลา 4 เดือน ธัญพืชที่เอามาขุนน้องวัวเนี่ยๆ เท่าที่เช็คฯข้อมูลดูเห็นว่ามีถั่วเหลือง, เปลือกมันสำปะหลัง, เปลือกปาล์ม, ข้าวโพด, เปลือกข้าวสาร, งาดำ, และก็หญ้าเนเปียร์ ขุนให้ครบ 4 เดือนเราก็จะได้น้องวัวที่มีเนื้อและไขมันแทรกตามต้องการของ Company B เค๊าล่ะ


หลังจากการชำแหละได้เนื้อตามต้องการแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการนำเนื้อวัวสดไปสู่ “กระบวนการบ่มเนื้อ” ที่เรียกกันว่า “ Dry-aged ” (ดรายเอจ) มันคือการแขวนเนื้อห้อยไว้ในห้องบ่มซึ่งมีอุณหภูมิต่ำภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้กว่า 55 วัน โดยห้องบ่มเนื้อนี้เองจะทำการควบคุมทั้งอุณหภูมิ, ความสะอาด, และอีกหลายอย่าง ฯลฯ เพื่อให้ระยะเวลาเปลี่ยนสภาพเนื้อและให้เอนไซม์ในเนื้อมันกัดเนื้อจนนิ่มลง ทำให้เนื้อที่ผ่านการทำดรายเอจเกิน 55 วันมีสีเข้มกว่าเนื้อในแบบปกติ-มีรสชาติเข้มข้นขึ้น-มีกลิ่นหอมขึ้น-และที่สำคัญเนื้อตัวนี้จะมีความนิ่มเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีรสชาติอร่อยขึ้นอย่างโดดเด่น เเต่ข้อเสียของการบ่มเนื้อแบบดรายเอจก็มีอยู่นะเออ คือเนื้อที่ผ่านกระบวนการนี้จะสูญเสียส่วนที่กินได้ไปถึง 70% โดยประมาณ ซึ่งผิวเนื้อด้านนอกที่ถูกบ่มเพาะจนแห้งจะแข็งจนใช้บริโภคไม่ได้ คือต้องใช้มีดแซะ-ตัดทิ้งอย่างเดียว สุดท้ายก็จะเหลือเนื้อส่วนข้างในที่เป็น “เนื้อคุณภาพสูง” เพียง 30% ให้เราได้ลิ้มรสกัน ฉะนั้น….ด้วยวิธีการที่แสนยุ่งยาก ได้ผลผลิตต่อครั้งเพียง 30%  และยังใช้ระยะเวลายาวนานมากๆในการบ่มเพาะเนื้อในแต่ละครั้ง เนื้อ Dry Aged ที่มีขายกันในปัจจุบันจึงมีราคาที่สูงกว่าเนื้อวัวสดในแบบปกติ  ที่สำคัญเนื้อ Dry Aged เนี่ยในเมืองไทยหาทานยากมากๆครับ  เท่าที่ทราบมาเนื้อ Dry Aged แบบไทยๆเจ้าแรกก็คือเนื้อ Dry Aged แบบ 30 วัน และ 55 วันของทาง Company B นี่แหล่ะ ได้ข่าวว่าบังโต ซิลลี่ฟูล เป็นผู้บุกเบิกเลยนะเออ ได้ยินกิตติศักดิ์มานานแล้ว วันนี้ถือโอกาสฤกษ์งามยามดี(เงินพิเศษออก 555+) เลยแอบสั่งซื้อเนื้อ “ Dry Aged Black Label (55 Days) : Tomahawk Steak ” ของ Company B มาลองทำสเต็กทานเองที่บ้านซะหน่อย ส่วนรสชาติก็ประมาณ…..    เนื้อค่อนข้างนุ่ม หอม มีไขมันเเทรกเยอะดี(หวานมันส์มากๆครับ) รสชาติกลมกล่อมราคารับได้ เเละน่าที่จะเป็นตัวเลือก-สวรรค์สำหรับคนรักเนื้ออีกช่องทางหนึ่งเลยครับ


****** เผื่อใครอยากลองสั่งซื้อเนื้อของ Company B มาลองทานดูบ้าง (อันนี้เพจฯทางทางร้านนะเออ)
>>>>https://www.facebook.com/CompanyB.Thailand/


คุณาพร / 19 / มกราคม / 2561