ในบ้านแม่มด ตอนที่1: บ้านแห่งคาวมบ้าคลั่งวของตระกูลลาลอรี่   Share



เรื่องราวของอาคารหัวมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่บริเวณทางบรรจบแยกของถนนโรยัล (Royal) และโกเวอร์เนอร์ นิโคลส์ (Governor Nichols) ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านพักอาศัยส่วนบุคคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของนิวออร์ลีนส์ (New Orleans) ในฐานะที่เป็นบ้านผีสิง (Haunted House) ซึ่งมีเรื่องเล่าลือหนาหูเกี่ยวกับการพบเห็นวิญญาณของทาสที่ถูกทรมาน เดินลากโซ่ในช่วงเวลาเที่ยงคืน โดยเชื่อกันว่าเกิดจากการลงโทษโดยเจ้านายของพวกเขา ซึ่งเป็นสุภาพสตรีชั้นสูงของนิวโอลีนส์ในยุคดั้งเดิมนั้น ผู้มีความพึงพอใจอันเร้นลับในการกระทำต่อทาสของเธออย่างไร้มนุษยธรรม



เหมือนกับเรื่องเล่าทั่วไป ที่พัฒนาขึ้นจากความเลวร้ายที่เล่าลือสืบต่อกันมา จนยากจะแยกแยะออกมาได้ว่า มีความเป็นจริงหลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเรื่องเล่าขานที่สืบสานกันมานานเกินกว่าศตวรรษเช่นนี้ แต่ที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ก็พบว่า สุภาพสตรีสาวผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว ได้กลายเป็นเหยื่อของหนังสือพิมพ์หัวเหลืองฉบับหนึ่งไปเรียบร้อยแล้ว ในฐานะที่เป็นผู้ที่ชื่นชอบและดำเนินตามแนวทางของลัทธิบูชาปีศาจ ซึ่งได้ส่งผลให้เธอกลายเป็นจำเลยของสังคม ในขณะที่เรื่องราวความเป็นจริงจะเป็นเช่นไรนั้น ก็คงต้องยกให้เป็นวิจารณาญาณส่วนบุคคลของท่านผู้อ่านแต่ละคนต่อไป




ตำนานเรื่องนี้เริ่มขึ้นจากเรื่องเล่าลือโบราณของ Vieux Carre ที่เล่าขานต่อกันมาว่า บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1780 โดยพี่น้องสองคนคือ จีน (Jean) และ เฮ็นรี่ เดอ รีมาร์ (Henri de Remarie) และได้มีโอกาสต้อนรับแขกที่เป็นบุคคลสำคัญ อาทิเช่น นายพล มิเชล นี่ย์ (Michel Ney) อดีตผู้บัญชาการที่มีชื่อเสียงของนโปเลียน (Napoleon) แม้กระทั่งกษัตริย์หลุยส์ ฟิลิป (Louis Philippe) แห่งฝรั่งเศษ และมาร์ควีส์ เดอ ลาฟาเยทท์ (Marquis de Lafayette) ก็ได้เคยพักค้างแรมที่อาคารแมนชั่นแห่งนี้ แต่แท้จริงแล้วจากข้อมูลในประวัติศาสตร์กลับพบว่า นายพลมิเชล นีย์ กลับไม่เคยมาที่หลุยส์เซียนา (Louisiana) แม้สักครั้ง ขณะที่ช่วงที่กษัตริย์หลุยส์ ฟิลิปส์ ได้มาประทับอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1798 และที่มาร์ควีส์ เดอ ลาฟาเยทท์มาเยี่ยมเยือนในปี ค.ศ.1825 นั้นอาคารแห่งนี้ก็ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น กระทั่งปี ค.ศ.1832


แน่นอนว่า บางครั้งการเปิดเผยความจริงทางประวัติศาสตร์นั้น ก็อาจส่งผลให้ไปทำลายความน่าเชื่อถือหรือเสน่ห์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่มันก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะชน ที่จะต้องแสดงความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง โดยต้องไม่เกรงกลัวว่าจะไปทำลายสีสันของเรื่องเล่าโบราณเหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องของบ้านผีสิงหลังนี้ ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงว่า มันถูกซื้อโดย เอมม์ หลุยส์ ลาลอรี่ (Mme Louis Lalaurie) ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ.1831 จากเอ็ดมันด์ (Edmond Soniat du Fossat) ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวนั้นก็ยังไม่พร้อมที่จะใช้เป็นแมนชั่นให้เข้าพักอาศัยได้ กระทั่งฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ.1832 เพื่อให้แม่ชีกลุ่ม เออร์ซูลีน (Ursuline nuns) ที่ผ่านทางได้ใช้เป็นที่พักอาศัย เนื่องจากมันเป็นบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นในพื้นที่แถบนี้

เอมม์ ลาลอรี่ เป็นหนึ่งในบุตรทั้งห้าคนของ หลุยส์ บาเทอเลมี่ (Louis Barthelemy Chevalier de Macarty) และมาเรีย จีนน์ (Marie Jeanne) ผู้ที่เป็นคนในสังคมชั้นสูงของนิวออลีนส์ในยุคนั้น หนึ่งในบุตรสาวของพวกเขาที่มีชื่อว่าคริสทีน (christened Marie Delphine Macarty) ได้แต่งงานครั้งแรกในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1800 กับดอน ราโมน (Don Ramon de Lopez y Angula) ซึ่งได้เสียชีวิตต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1804 คริสทีนจึงแต่งงานครั้งที่สองกับ จีน แบลงค์ (Jean Blanque) ในปี ค.ศ.1808 ซึ่งก็ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ.1816 ทำให้คริสทีนต้องแต่งงานครั้งที่สามกับ ดร.ลาลอรี่ (Dr. Lalaurie) ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศษ ในปี ค.ศ.1825 จนได้รับฐานะเป็นมาดามลาลอรี่ในที่สุด

ต่อมามาดามลาลอรี่และครอบครัว ก็ได้รับสืบทอดอาคารดังกล่าว และได้เปิดเป็นแมนชั่นในปี ค.ศ.1832 กระทั่งในช่วงบ่ายของวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1834 ประมาณ 2 ปีต่อมา ระหว่างที่กำลังจัดเตรียมงานเลี้ยงขึ้นที่อาคารดังกล่าวนี้ ก็เกิดเหตุไฟลุกไหม้ลามมาจากครัว ชาวบ้านในแถบนั้นได้พยายามเข้าไปช่วยกันดับไฟ ก็ได้พบกับศพทาสผิวสีจำนวนหนึ่งถูกล่ามโซ่ไว้ในห้องกักขัง เหตุนี้เองที่ทำให้ชาวบ้านพากันโกรธแค้น โดยเฉพาะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า เจอโรม เบยอน (Jerome Bayon) ได้ทำการประโคมข่าวในเรื่องนี้สู่สาธารณะจนทำให้ผู้คนพากันโกรธแค้นมากขึ้น ทว่ามาดามลาลอรี่และครอบครัวก็ได้รับการพาหนีไปด้วยคนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ พวกเธอได้พากันอพยพไปอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศษ กระทั่งสิ้นชีวิตในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1842 โดยเชื่อกันว่าศพของเธอได้ถูกลอบนำกลับมาเผาที่วิหารเซนต์หลุยส์ในนิวออลีนส์


จากเรื่องที่บรรยายมา ก็น่าจะพอชี้ให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ประวัติที่แท้จริงของมาดามลาลอรี่โดยสังเขป ซึ่งจะดูเหมือนว่า เธอก็เป็นผู้หญิงที่น่าสงสารคนหนึ่งที่ต้องตกเป็นหม้ายถึงสองครั้ง นอกจากนั้นเธอยังเป็นแม่ของลูกถึงห้าคน ส่วนที่เล่ากันว่าเธอมีพฤติกรรมที่โหดเหี้ยมร้ายกาจนั้น จะเป็นจริงหรือไม่ก็คงต้องให้ท่านผู้อ่านเป็นคนตัดสินด้วยตัวเอง ที่นำเรื่องราวเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เพียงเพื่อทำหน้าที่คนนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนทุกด้าน หลังจากที่พบว่า มีการพูดถึงมาดามลาลอรี่ในแง่มุมด้านลบเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด และไม่ว่าตัวตนที่แท้จริงของเธอจะเป็นเช่นไร แต่บัดนี้เธอก็ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ทำให้ประวัติศาสตร์ยังคงปริศนาอันมืดมนต่อไปตราบนานเท่านาน และมีแต่สังคมเท่านั้นที่จะเลือกมุมมองเกี่ยวกับตัวเธอเพียงฝ่ายเดียว โดยที่เธอไม่สามารถมีโอกาสโต้แย้งใดๆ อีกต่อไป

ในเวลาต่อมา อาคารแมนชั่นลาลอรี่ดังกล่าว ก็ได้ถูกขายทอดให้แก่เจ้าของอีกหลายคน และเรื่องหลอนๆ ของบ้านผีสิงก็ได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาโดยตลอดหลากหลายเรื่องราว ที่ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมกันมากก็คือ เรื่องของทาสเด็กหญิงที่หนีการถูกเฆี่ยนตีขึ้นไปบนดาดฟ้า และได้ตกลงมาตายที่พื้นชั้นล่าง โดยที่มีเรื่องเล่าหลายกระแสด้วยกัน ทั้งตกลงมาเอง ถูกจับโยนลงมา หรือเจตนาฆ่าตัวตายเพื่อหนีความทรมาน อีกเรื่องที่ดังไม่แพ้กันก็คือ เรื่องที่ว่าพบซากศพถูกฝังไว้ในลานด้านล่างของตัวอาคารจำนวนมาก ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นศพของพวกทาสที่ถูกมาดามลาลอรี่ทรมานจนตายอย่างอย่างสยดสยอง และไม่ว่าเรื่องเล่าเหล่านี้จะเป็นจริงหรือไม่ มันก็สามารถสร้างกระแสให้แก่ผู้ที่เชื่อในเรื่องเหล่านี้เกิดความหวาดหวั่นพรั่นพรึงได้ไม่น้อย

หลังจากสงครามกลางเมืองจบลง อาคารลาลอรี่ก็ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ และถูกใช้เป็นโรงเรียนของเด็กเล็ก ที่รับเฉพาะเด็กหญิง โดยยินยอมให้คนผิวขาวและดำเรียนร่วมห้องเดียวกันได้ กระทั่งปี ค.ศ.1874 เมื่อมีการตั้งสมาคม White League ก็มีคนผิวขาวเดินขบวนมาที่โรงเรียนดังกล่าวและไล่คนผิวดำออกไป ต่อมาในปี ค.ศ.1880 อาคารดังกล่าวก็ถูกใช้เป็นวิทยาลัยการดนตรี โดยที่ยังไม่มีเรื่องเล่าหลอนๆ เกี่ยวกับผีสางแต่อย่างไร กระทั่งมันถูกใช้เป็นร้านขายของที่ชั้นล่าง ก็เริ่มมีกระแสเรื่องเล่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ผีสิงให้ผู้คนได้พบเห็น

เรื่องเล่าที่น่าจะเป็นสาเหตุที่มาของเรื่องราวด้านลบของมาดามลาลอรี่ ก็คือการที่มาดามและครอบครัวจะมาอาศัยอยู่ที่อาคารเลขที่ 1140 ถนนโลยัล ใกล้กับอาคารลาลอรี่ในช่วงปี 1830 เป็นบางครั้ง ซึ่งเพื่อนของเธอคนหนึ่งที่มีชื่อว่า มาเรีย (Marie Laveau) ก็อาศัยอยู่ใกล้กับบ้านดังกล่าว โดยเชื่อกันว่าเพื่อนของเธอผู้นี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์มนต์ดำวูดู จนได้ฉายาเป็น ราชินีแห่งวูดู ทำให้เกิดความเชื่อกันว่า มาดามลาลอรี่ได้เรียนเกี่ยวกับศาสตร์วูดูจากเพื่อนของเธอผู้นี้ และได้ทำให้เธอกลายเป็นคนที่มีจิตวิปริตโหดเหี้ยมในกาลต่อมา

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังมีรายงานเกี่ยวกับ การพบเห็นประสบการณ์หลอนของผีสิงในอาคารลาลอรี่แห่งนี้อยู่เนืองๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการพบเห็นภาพ และได้ยินเสียงกรีดร้องด้วยความเจ็บปวด ของเหล่าวิญญาณทาสที่ถูกทรมาน บางคนยังบอกว่าวิญญาณเหล่านั้น พยายามจะร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก ในขณะที่ภาพเหตุการณ์ของพวกทาส ที่ถูกแผดเผาด้วยไฟในครั้งเกิดอัคคีภัย ก็ยังวนเวียนมาให้ผู้คนได้พบเห็นกันบ่อยครั้ง เรื่องของเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของที่เคลื่อนย้ายได้เอง ก็มีคนพบเห็นกันไม่น้อย รวมไปถึงภาพใบหน้าของภูติผี ที่สิงสู่ในอาคารหลังนั้น ปรากฏให้เห็นตามช่องหน้าต่าง ผนัง และสถานที่ต่างๆ ภายในตัวอาคารแห่งนี้ จนหลายคนเชื่อกันว่า บ้านหลังนี้ได้กลายเป็นเบ้าหลอมแห่งความตายไปแล้ว

ความคิดเห็นที่ 1

ชื่อผิดอ่ะจ้าจขกท ชื่อส่วนใหญ่ต้องอ่านเป็นภาษาฝรั่งเศส

เอมม์ หลุยส์ ลาลอรี่ Mme Louis Lalaurie Mme มาจากคำว่า Madam มาดาม ใช้กับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว

Marie Jeanne มารี ฌานน์


christened Marie Delphine Macarty อันนี้ไม่ได้ชื่อ คริสทีน christen คือ
a. To baptize into a Christian church.
b. To give a name to at baptism.
ทำพิธีล้างบาปเด็กแรกเกิดในศาสนาคริสต์แล้วตั้งชื่อให้
ดังนั้นชื่อคือ Marie Delphine Macarty


อันนี้แปลเองหรือเปล่าอ่ะ ถ้านำข้อมูลมาจากเว็บอื่นอยากให้ใส่เครดิตแหล่งที่มาด้วยจ้ะ จะได้ไม่เป็นอัญหาภายหลัง






ความคิดเห็นที่ 2

american horror story เอามาจากเรื่องจริงรึเนี้ย


Function Used time : 0:0:0:58