1.ปลาอามาทัส แวมไพร์แห้งลุ่มน้ำ ปลาอามาทัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrolycus armatus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฟันสุนัข(Cynodontidae) ในอันดับปลาคาราซินรูปร่างคล้ายกับ ปลาสคอมบิรอยด์ (H. scomberoides) มาก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก ต่างกันที่ปลาอามาทัสมีครีบทุกครีบเล็กกว่า และมีสีแดง ครีบไขมันสีส้มเข้ม หัวมีขนาดใหญ่กว่าและหักลง ไม่ชี้ขึ้นเหมือนปลาสคอมบีรอยด์ และลำตัวเป็นสีเหลืองทองในปลาขนาดเล็ก แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเงินวาวเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
นอกจากนี้แล้ว จุดเด่นที่สำคัญคืออีกประการหนึ่งคือ เมื่อปลาโตเต็มที่ เขี้ยวคู่ล่างที่กรามล่างจะยาวแหลมออกมาจากปากอย่างเห็นได้ชัดนับว่าเป็นปลาที่มีฟันเขี้ยวใหญ่และแหลมคมที่สุดสำหรับปลาในวงศ์นี้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร ซึ่งก็นับได้อีกว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในระดับกลางน้ำในปลาวัยเล็ก หากินโดยล่าปลาและกุ้งต่าง ๆ เป็นอาหาร และถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าก็ตาม ก็สามารถใช้ปากและเขี้ยวที่แหลมคมนี้จับและกลืนกินได้ พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและสาขา, ลุ่มแม่น้ำโอริโนโค รวมถึงแม่น้ำกายอานา
นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ต้องนำเข้าจากอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยมีชื่อเรียกปลาอามาทัสในแวดวงปลาสวยงามว่า "อามาทัสหางดำ" ทั้งนี้เพื่อมิให้สับสนกับปลาทาทูเอีย (H. tatauaia) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความใกล้เคียงกันมาก ยิ่งโดยเฉพาะในปลาขนาดเล็ก ซึ่งปลาทาทูเอียจะถูกเรียกว่า "อามาทัสหางแดง" ทั้งนี้ เมื่อปลาทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโตขึ้นจึงจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน กล่าวคือ ปลาอามาทัสจะมีครีบหางเป็นสีดำ ขณะที่ปลาทาทูเอียจะเป็นสีแดง อีกทั้ง การนำเข้าปลาในวงศ์นี้ในระยะแรกเริ่มจะสับสนจะปะปนกันมา ปลาอามาทัสจะถูกปะปนเข้ามาพร้อมกับปลาสคอมบิรอยด์และปลาทาทูเอีย แม้แต่ในต่างประเทศก็พบกรณีเช่นนี้ แต่เมื่อเลี้ยงในที่เลี้ยงแล้ว พบว่า ปลาอามาทัสมีนิสัยไม่ขี้ตกใจ และไม่กระโดด เหมือนปลาในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ มีนิสัยที่ดุกว่า และเติบโตได้เร็วกว่า และมีราคาที่แพงกว่า
การเลี้ยงดู ไม่ยากมากนัก การเลี้ยงก็แบบปลาปกติทั่วไปไม่ต้องมีอะไรพิเศษนัก เลี้ยงในตู้ปลาปกติ ตู้ปลาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เพื่อให้ปลาใช้ในการจับเหยื่อ อาจจะมีขอนไม้ให้ปลาหลบ หรือจะปล่อยโล่งๆก็ได้ อาหาร: เป็นปลาที่ชอบเหยื่อแบบมีชีวิต ยากมากที่จะฝึกให้กินพวกของตาย ควรให้อาหารประเภทปลาเหยื่อพวก ปลากัด ปลาสอด ปลาทอง ปลาไน แทงค์เมท: สามารถรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าได้หลายชนิด เช่น พวกเทเมนสิส ออสซีราลิส เสือตอกระเบนต่างๆหลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาที่มีขนาดเล็กกว่า เพราะอาจถูกทำร้าย หรือจับกินได้ เพราะอมาทัสมีปากที่กว้างมาก สามารถกลืนปลาที่มีขนาดใหญ่ได้
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:09
|
|
2.แอฟริกันไทเกอร์ เสือใต้น้ำขนาดสิงโตยังต้องอาย
นับเป็นปลาคาราซินชนิดหนึ่ง ที่ดูแปลกแหวกแนวไปจากเพื่อนๆร่วมวงศ์ตระกูลคาราซินอยู่ไม่น้อย ในขณะที่เพื่อนๆร่วมวงศ์ คาราซินหลากหลายชนิดดูบอบบางน่าทะนุ ถนอม ตัวเล็ก น่ารัก เหมาะกับการแหวกว่ายในลำธาร และ สายน้ำ ที่มีเหล่าพันธุ์พืช ขึ้นปกคลุม หรือ ในตู้ไม้น้ำยิ่งนัก แต่กับเจ้าปลาชนิดนี้นั้น กลับมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งขนาด และ ลักษณะ การดำรงชีวิต ในขณะที่เพื่อนร่วมวงศ์ตระกูล สายพันธุ์อื่นๆ ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ถูกล่าในห่วงโซ่อาหาร แต่เจ้านี่กลับต่างไป เพราะมันคือผู้ล่า , ผู้ล่า แห่งกระแสน้ำอันเชี่ยวกราก ผู้ได้ ฉายา หมาป่าแห่งกระแสน้ำ ลีลาในการรวมฝูงล่าเหยื่อของพวกมัน ไม่ต่างอะไรกับ ปลาพิรันย่า ปลากินเนื้อชื่อกระฉ่อนโลกแต่อย่างใดครับ แม้จะไม่มีรายงานว่า พวกมันเคยตั้งใจทำร้ายมนุษย์ แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือความเข้าใจผิด โดนพวกมันตัวใหญ่ๆกัดเข้าที่จุดสำคัญล่ะก็ มีโอกาศได้ไปเยี่ยมท่านฮาเดส ในยมโลก เป็นแน่แท้ บรื๋อ.......!!!!
ปลาคาราซิน ชนิดนี้ มีขนาดรูปร่างที่โตใหญ่ ได้ถึงประมาณ 41 นิ้ว หรือ ประมาณ 105 cm และมีน้ำหนักได้มากกว่า 60 ปอนด์ ในธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าแตกต่างจากบรรดาญาติๆ ร่วมวงศ์ตระกูลของเขาที่เป็นปลาเล็ก ปลาน้อยลิบลับ ปลาชนิดนี้ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับการเลี้ยง โดยที่พื้นที่ในการเลี้ยงที่เหมาะสมนั้น ควรจะเป็นตู้เลี้ยงปลาขนาด 650 หรือ 1,000 แกลลอนขึ้นไป ปลาจะเติบใหญ่ได้อย่างน่าดูชม เติบใหญ่จนฟันของมัน ใช้เคี้ยวปลาที่เป็นอาหาร เป็นชิ้นๆลอยละล่องในน้ำได้อย่างไม่ยากเย็น ปลาชนิดนี้ สามารถเลี้ยงรวมฝูงกันแบบหลวมๆ ได้ ตอนที่ขนาดยังเล็กๆ โดยต้องมีพื้นที่ให้เขาแหวกว่ายได้อย่างเพียงพอ ส่วนปลาอื่นๆ ที่หย่อนลงไปในตู้ ถ้ามีขนาดเล็กกว่าปากของมัน ก็ล้วนแต่จะกลายเป็นอาหารของมันเสียเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากขนาดของมันใหญ่ขึ้นมากๆแล้ว ก็จะเป็นการดีกว่าที่จะเลี้ยงปลาชนิดนี้เอาไว้ ตัวเดียว ต่อ 1 ตู้ ซึ่งถ้าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 15 ปีเลยทีเดียว
ส่วนเรื่องอาหาร หน้าตาประมาณนี้ ฟันเต็มปาก คมกริบ แบบนี้ ก็คงต้องกินหนักไปทางเนื้อสัตว์น้ำร่วมโลกนั่นแหล่ะครับ ซึ่งก็สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้บ้างแต่ก็ไม่ง่ายเท่าใด ส่วนใหญ่ก็จะต้องให้อาหารเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในน้ำ ชนิดต่างๆนั่นแหล่ะครับ ส่วนอาหารเม็ดจากบรรดาพืชผัก ก็ให้เสริมได้อยู่บ้างบางทีครับในส่วนของการจัดตู้เลี้ยง ปลาชนิดนี้ต้องการน้ำคุณภาพดี ระบบกรองจึงมีความสำคัญมาก อาจจะจัดตู้โล่งๆ ให้เขาได้แหวกว่ายอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องประดับอะไรมาก ก็ทำได้ครับ หรือจะนำไปเลี้ยงในบ่อดินใหญ่ๆ ก็สะดวก แต่ก็ต้องระวังหลุดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยนะครับ.
โดยที่ปลาในกลุ่มนี้จะพบอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดในแอฟริกา ก็คือ
1. Hydrocynus brevis 2. Hydrocynus forskalii 3. Hydrocynus goliath 4. Hydrocynus tanzaniae 5. Hydrocynus vittatus
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:12
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:13
|
|
3.ฉลามปากเป็ด ก้าบๆๆๆๆ ชื่อทางการว่า ; Polyodon spathula//Acipenseriformes (sturgeons and paddlefishes) ถิ่นอาศีย ; อเมริกาเหนือ ขนาด โตเต็มที่ 2 เมตร หนัก 90 กิโลกรัม จากรายงาน อายุถึง 55 ปี สภาพแวดล้อม น้ำจืดสะอาดๆ ไหลเอื่อย อุณภูมิที่ 25-27 องศา (แต่ที่จริงตามธรรมชาติอยู่น้ำเย็นกว่านี้) อาหาร ; สัตว์น้ำขนาดเล็ก พวกแพลงตอน ลักษณะพิเศา ; มีปากยื่นยาวออกมา คล้ายปากเป็ดและรูปทรงคล้ายฉลาม
ปลาฉลามปากเป็ดถ้าจะย้อนอดีตไปแล้ว เป็นปลาปราบเซียนอีกตัวนึงซึ่งเลี้ยงยากมากๆ ชอบน้ำเย็นๆ สะอาดมากๆ อ๊อกซิเจนสูง แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วมีการนำเข้ามาเลี้ยงกันมากขึ้นจนสามารถพัฒนาความอึดได้ระดับนึง ซึ่งสามารถอยู่ในอุณภูมิบ้านเราได้สบายขึ้นคือ ระหว่าง 25-27 องศา การเลี้ยงเจ้าฉลามปากเป็ดนี้ ผู้เลี้ยงต้องเข้าใจเรื่องน้ำเป็นอย่างดี และการเป็นอยู่ของมันโดยถ่องแท้ ซึ่งน้ำต้องสะอาด ไหลเอื่อยๆ อ๊อกซิเจนสูง ที่นิยมให้อาหารกันในบ้านเราก็ได้แก่ ใส้เดือนน้ำ หนอนแดง และ ไรทะเล มันจะว่ายอ้าปากไปเรื่อยๆให้อาหารเข้าปากเอง ระบบเผาผลาญเจ้าปลาพวกนี้เร็วมาก ซึ่งเราไม่ควรปล่อยให้อดอาหาร เพราะอาจตายได้ ระวังเรื่องการติดเซื้อแบคทีเรีย จากอาหารสด ในตู้เลี้ยงควรจัดโล่งเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาดไม่มีสิ่งหมักหมมของเสีย เพราะปลาพวกนี้ไวต่อสภาพน้ำอย่างมาก น้ำเลี้ยงควรปราศจาก คอลลีน 100 เปอร์เซ็น สามารถอยู่รวมกับปลาอื่นๆได้ที่ตัวไม่โตนักและไม่ดุร้าย เช่น สเตอเจียน
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:17
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:20
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:20
|
|
3.ปลาอัลลิเกเตอร์&ฟลอริด้า โคตรเข้ลายจุด เนื่องจากขนาดที่ใหญ่โต โตเร็ว กินจุ จึงทำให้มีการนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง
ปลาอัลลิเกเตอร์ มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ฟลอริด้า เท็กซัส จนถึงเม็กซิโก
โดยปลาชนิดนี้ชอบอาศัยในแหล่งน้ำที่กระแสน้ำ ไหลไม่แรงนัก เช่นแม่น้ำ ทะเลสาป และหนอง บึงต่างๆ
ปลาชนิดนี้มีลำตัวกลม ยาว ครีบหางมีลักษณะกลม ที่ครีบมีลายจุด ผิวลำตัวมีสีแบบเขียวมะกอกจนถึงน้ำตาล มีเกล็ดแบบ ganoid
ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากปลา gar ชนิดอื่นคือ มีแถวฟันเรียงตัวถึงสองแถวที่ขากรรไกรบน
ชื่อ Atractosteus spatula
โดย spatula เป็นภาษาละติน แปลว่า "ช้อน" ซึ่งมีที่มาจากจมูกของมันนั่นเอง
ปลาชนิดนี้โตได้ถึง 3 เมตร และหนักได้ถึง 120 กิโลกรัม
ตัวเมียจะเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้สิบปี ตัวผู้จะเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้หกปี และจะมีอายุได้ถึง 30-50 ปี
ปลาอัลลิเกเตอร์จะผสมพันธุ์ในช่วง เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม โดยจะวางไข่ในแหล่งน้ำไหล
ลูกปลาจะกินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก และลูกปลาสามารถถูกดึงดูดโดยแสงไฟในเวลากลางคืน
โดยจะวางไข่ได้ประมาณ 130,000 ฟอง
ปลาชนิดนี้กินทุกอย่างที่งับได้ เอาเข้าปากได้
นอกจากนี้ยังมีความทนต่อความเค็ม ดังนั้นบางครั้งจึงอาจพบมันหากิน ในแหล่งน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำ
ามคิดเห็นที่ 7 การเลี้ยงในที่เลี้ยงทำได้ไม่ยาก
เพียงแต่ว่าควรมีสถานที่ที่เพียงพอ การเลี้ยงในบ่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
การให้อาหารสามารถให้ได้ทั้งอาหารเป็นและอาหารตาย เช่นปลาเหยื่อ เนื้อกุ้ง เนื้อปลาต่างๆ สามารถผสมพันธุ์ได้ในบ่อเลี้ยง
แต่ดังได้กล่าวมาแล้ว ปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้มีความพร้อมในการเลี้ยงเท่านั้น ไม่สมควรปล่อยลงแหล่งน้ำด้วยประการทั้งปวง นำไปแจกให้คนอื่นซะยังจะดีกว่า
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:42
|
|
เอามากินได้เป็นปีเลย......
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:43
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 12:43
|
|
5.ปลาอินซิกนิส ตะเพียนสวยแห่งอเมซอน อินซิกนิสเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาตะเพียนมากมาก แต่มันอยู่ในวงษ์คาราซิน (แตกต่างจากตะเพียนซึ่งอยู่ในวงษ์ไซปรินิส) ซึ่งเป็นวงษ์ที่ข้อนข้างใหญ่เพราะมีขนาดเล็กเช่นปลาเตทตร้าทั่วไป ถึงขนาดใหญ่เช่นโกไลแอต อินซิกนิสนี้มีลักษณะปากที่ใหญ่และขยับตลอดเวลา เพราะฉะนั้นปลาตัวนี้จึงเป็นเมทชนิดที่สามารถทำให้ตู้สะอาดขึ้นมากทีเดียว สีครีบ และหางของปลาชนิดนี้ก็ขึ้นชื่อว่าสวยงามมากมากเช่นกัน สีของครีบมีสีแดงสดในปลาขนาดใหญ่ ส่วนหางก็จะมีลายพาดดำแดง เช่นกัน แต่ปลาบางตัว หางด้านในจะมีสีเหลืองอยู่ด้วยเล็กน้อย แต่ในปลาขนาดเล็กสีสันยังไม่ออกไม่ต้องตกใจนะครับ ไม่งั้นทารกที่ออกจากท้องมาใหม่ๆ ก็คงจะมีผมหนาสวยแบบผู้ใหญ่ไปแล้วใช่ไหมครับ เป็นปลาที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งส่วนมากจะว่ายน้ำหาของกินอยู่ตลอดเวลา ชอบตอดกันทั้งกันเอง และปลาที่มินิสัยชอบอยู่นิ่ง เช่นกระเบน หรือแคทฟิชที่อยู่ตามพื้นตู้ต่างๆ ในปลาขนาดเล็กควรให้ไส้เดือนน้ำ หนอนแดงขนาดเล็ก ไรแดง และตะไคร่น้ำ ถ้าปลาขนาดใหญ่ก็ให้อาหารเม็ดจม กุ้งฝอย หนอนแดงขนาดพอคำครับ โตเต็มที่ได้ประมาณ 1ฟุต แต่เคยมีพบว่าใหญ่ได้กว่านั้น เพราะว่ามันมีสายพันธุ์ย่อยออกมาอีกหลายสายจึงข้อนข้างสับสน เรื่องขนาดกันอยู่บ่อยๆ South America: central and western portions of the Amazon basin and tributary rivers ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้หรือยัง แต่คาดว่าในต่างประเทศสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากครับ น้ำดีกรองดี อาหารถึงก็พอ แต่ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กแล้วอยากให้สีสดไวไวก็ควรจะใช้น้ำหมัก และอาหารเร่งสี(มีส่วนน้อยมาก) แต่ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่กระโดเก่งและสูงมากจึงควรจะหาอะไรมาปิด ไม่งั้นอาจได้เห็นอินซิกนิสตากแห้งในบ้านของตัวเอง ปลาชนิดนี้ไม่ดุร้ายนัก มักจะไม่ทำร้ายปลาอื่น แต่อาจจะมีการดูดเมือกปลาอื่นเมื่อหิว ไม่ควรเลี้ยงรวมกันเพียงแค่สองตัว เพราะมันจะกัดกันเอง และก็ไม่ควรเลี้ยงกับปลากระเบน หรือแคทฟิชต่างๆ เพราะมันจะไปดูดกินเมือกบนตัวปลาเหล่านั้น แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกตัวนะครับ ต้องดูเป็นตัวๆไป เพราะฉนั้นการเลี้ยงปลาไม่มีหลักการตายตัว มันอยู่ที่ว่าผู้เลี้ยงสามารถจะขจัดปัญหาออกไป หรือแก้ไขปัญหานั้นๆได้หรือไม่ ถ้าสามารถแก้ปัญหามาได้โดยไร้ความเสียหายก็ถือว่าดีไป แต่ถ้าไม่ก็ให้ถือว่าความเสียหายนั้นเป็นครู แล้วอย่าทำอีก หรือถ้ายังไม่เข็ดต่อความเสียหายนั้น ก็ต้องสู้กันต่อไปครับ ชอบคนมีความมานะพยายาม มากกว่าคนที่ฉลาดแต่ไม่มีความอดทนครับ อิอิ
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 14:07
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 14:08
|
|
6.เปคู้ ตัวกัดไข่ ปลาคู้ดำ หรือ ปลาเปคูดำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colossoma macropomum อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาปิรันยา ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน หากแต่ปลาคู้ดำจะมีส่วนเว้าของหน้าผากเว้าเข้ามากกว่า โคนหางจะคอดเล็ก ฟันภายในปากมีสภาพเป็นหน้าตัดคล้ายฟันมนุษย์ไม่แหลมคม เมื่อเทียบกับส่วนของลำตัว ลำตัวและปลายหางจะมีสีเงินปนดำ และเมื่อปลาโตยิ่งขึ้นในส่วนของสีดำนี้ก็จะเห็นชัดขึ้นด้วย มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 40 กิโลกรัม มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคซึ่งเป็นแม่น้ำสาขา มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งแตกต่างไปจากปลาปิรันยาที่จะกินเพียงสัตว์อย่างเดียว และยังสามารถกินเมล็ดพืชที่ตกลงน้ำได้อีกด้วย โดยมักไปรอกินบริเวณผิวน้ำ ปลาคู้ดำ จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อย Serrasalminae อันเป็นวงศ์ย่อยเดียวกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีนิสัยดุร้ายเท่า มีชื่อเป็นภาษาพื้นเมืองเรียกว่า Tambaqui หรือ Cachama หรือ Gamitana และเป็นปลาเพียงชนิดเดียวด้วยที่อยู่ในสกุล Colossoma เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันในท้องถิ่น สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่นเดียวกับปลาปิรันยาชนิดอื่น ๆ สำหรับในประเทศไทย ปลาคู้ดำได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในฐานะเป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง โดยมีชื่อเรียกกันในแวดวงเกษตรว่า "ปลาจะระเม็ดน้ำจืด" เช่นเดียวกับ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) หรือปลาเปคูแดงด้วย นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ซึ่งจากการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามนี้ เมื่อปลาโตขึ้นผู้เลี้ยงไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ไหว จึงนิยมนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ทำให้ในปัจจุบัน มีปลาคู้ดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น จัดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในจำพวกชนิดพันธ์ุต่างๆ ปลาคู้แดง หรือ เปคูแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piaractus brachypomus ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalmidae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง หรือ เปคูแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piaractus brachypomus ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalmidae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาร์เจนตินา นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพืชเช่นเมล็ดพืชหรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น โดยจะไปรอกินถึงบริเวณผิวน้ำเลยทีเดียว เป็นปลาที่นิยมทำเป็นอาหารของคนพื้นถิ่น มีชื่อเรียกในภาษาพื้นเมืองว่า Pirapitinga ปลาคู้ดำ
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 14:59
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 14:59
|
|
7. บลูชาร์ค หมูอ้วนพันธุ์ดุ เจ้านี่เป็นเป็นแคทฟิชชนิดหนึ่งนั่นเอง แสดงว่า มันไม่มีเกล็ดหรือเรียกง่ายๆว่าปลาหนัง ถูกจัดอยู่ในครอบครัว Cetopsidae ซึ่งปลาในครอบครัวนี้ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับวาฬ (Whalelike Catfishes) ตามสายตาของฝรั่ง แต่คนไทยอาจมองว่า มันคล้ายฉลามก็ได้ครับ ในเมื่อมันเป็นแคทฟิช ก็หมายความเช่นเดิมครับว่า มันแพ้สารเคมีพวกมาลาไคท์กรีน ฟอร์มาลีน ดิพเทอเร็กซ์ และสารเคมีอันตรายหลายอย่างในท้องตลาดเช่นกัน เวลาใช้ต้องระวังด้วยครับ
ปลาชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cetopsis coecutiens อ่านว่า ซีทอปสิส โคคคูเทียนส์ ถูกบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานครั้งแรกโดย Lichtenstein, 1819 ชื่อสกุล มาจากภาษากรีก cetos ซึ่งแปลว่า วาฬ และคำว่า cosis ซึ่งแปลว่า คล้าย รวมกันเป็นคำแปลว่า คล้ายวาฬ นั่นเอง มีชื่อพ้อง(Synonyms) คือ Silurus coecutiens, Silurus caecutiens ส่วนชื่อสามัญ ก็มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อครับ เช่น Baby Whale Catfish, Blue Shark Catfish, Blue Torpedo Catfish, Blue Whale Catfish, Whale Catfish และ Canero ส่วนนักเลี้ยงปลาแปลกชาวไทย นิยมเรียกมันว่า บลูชาร์ค ทับศัพท์ไปเลยครับ ไม่ต้องไปแปลว่า ฉลามสีน้ำเงิน บางคนอาจเรียก คาเนโร่ ก็มีบ้างเช่นกัน ปลาในสกุลนี้ มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 26 สปีชีส์ครับ แต่สปีชีส์ หรือชนิดที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทยบ่อยที่สุด ก็คือ C. coecutiens นั่นเองครับ
การแพร่กระจายและแหล่งที่อยุ่อาศัย เดาได้ไม่ยากใช่ไหมครับว่า มันต้องมาจากทวีปอเมริกาใต้แน่นอน ใช่แล้วครับ ปลาชนิดนี้พบที่ แม่น้ำหลายสาย ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อเมซอน โทแคนติน และ โอริโนโค่ เป็นต้น ปลาบลูชาร์ค อาศัยหากินอยู่ในน้ำหลายระดับความลึก ตั้งแต่บริเวณพื้นท้องน้ำ จนมาถึงกลางน้ำครับ อุณหภูมิของน้ำในธรรมชาติ อยู่ที่ประมาณ 22-28 องศาเซลเซียส pH 6.0-7.4 เรียกได้ว่า เหมือนๆกับบ้านเรานี่แหละครับ สามารถอยู่ได้ทั้งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ตามแต่ที่พวกมันจะว่ายน้ำไปหาเหยื่อได้ แต่ปกติจะพบทั่วไปในแหล่งน้ำไหลขนาดใหญ่ครับ
ลักษณะรูปร่าง นิสัย และอาหาร ปลาบลูชาร์ค มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม หรือ วาฬ สมชื่อนี่แหละครับ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ จะงอยปากบนยื่นยาวกว่าจะงอยปากล่าง ดวงตามีขนาดเล็กมาก ลำตัวเพรียวยาว ครีบหลังเป็นรูป สามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายฉลาม มองดูหน้าตาแล้วน่ารักครับ เหมือนปลาตัวนี้ กำลังยิ้มให้เราตลอดเวลา ลำตัวเพียวยาว รูปตอร์ปิโด ไม่พบครีบไขมัน ไม่มีเกล็ด สีของลำตัว ด้านบนเป็นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนด้านท้องเป็นสีขาว มีสีเหลือบฟ้าทั่วทั้งลำตัว ขนาดโตเต็มที่ทั่วไป ประมาณ 26 เซนติเมตร แต่ก็สามารถพบขนาดเกิน 1 ฟุตได้บ่อยๆในธรรมชาติครับ
ปลาบลูชาร์ค จัดอยู่ในกลุ่มปลาอันน่ากลัวมากชนิดหนึ่งของโลก ที่มีชื่อว่า ปลา แคนดิรู (Candiru) คนพื้นเมืองรู้ถึงความน่ากลัวของปลาชนิดนี้ดีครับ ปิรันย่า เค้าไม่กลัวกันครับที่นั่น แต่กลัวปลาพวกนี้มากกว่า ปลาในกลุ่มนี้ มีหลายตัวที่ดำรงชีวิตเป็นปรสิต ในร่างกายสัตว์น้ำ ตลอดจนร่างกายมนุษย์ มีความไวต่อกลิ่นเลือด และแอมโมเนีย เป็นอย่างยิ่ง โดยจะตามเลือดและปัสสาวะไปยังร่างกายของเหยื่อ และเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวด ทรมาน อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในมนุษย์ครับ จะลงน้ำต้องระวัง
ส่วนปลาบลูชาร์คนั้น ไม่มีพฤติกรรมการเป็นปรสิตในร่างกายสัตว์อื่นครับ เพราะมันตัวโตได้เป็นฟุตนั่นเอง แต่ปลาบลูชาร์ค ก็มีพฤติกรรมที่คล้ายๆกันกับญาติๆของมัน นั่นก็คือ ถึงแม้สายตาจะไม่ดี มีดวงตาขนาดเล็ก แต่มันก็มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากๆ โดยเฉพาะกลิ่นเลือด มันเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวอยู่แล้วครับ และว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ เมื่อมันพบปลาที่บาดเจ็บ มีบาดแผล มันก็จะตรงเข้ารุมกัดกิน ปลาตัวนั้นทันที ด้วยความเร็วที่มากกว่าเดิมเสียอีกครับ โดยเริ่มจากที่บาดแผลก่อนครับ การกัดของมันนั้น น่ากลัวครับ เรียกว่า กัดที ก็เนื้อหลุดไปเป็นก้อนๆเล็กๆ เท่าขนาดปากอย่างใดอย่างนั้น ถ้าฝูงหนึ่งมี ร้อยตัว ก็กัดหลายพันครั้งล่ะครับ ไม่นานเนื้อก็หายไปจนหมดตัว ที่น่ากลัวกว่านั้น ปลาบลูชาร์คที่มีขนาดเล็ก ยังมีพฤติกรรม ชอบ ชอนไชเข้าไปในร่างกายเหยื่อ เพื่อกินอวัยวะภายในอีกด้วยครับ ปลาที่เคราะห์ร้ายที่มักโดนเจ้าพวกนี้กินบ่อยๆ ในธรรมชาติ ก็คงหนีไม่พ้นพวกแคทฟิชขนาดใหญ่ที่พบทั่วๆไปในอเมซอน เช่น เรดเทลแคทฟิช (Phractocephalus hemioliopterus) และ ไทเกอร์โชเวลโนส (Pseudoplatystoma fasciatum) ที่ทุกๆท่านรู้จักกันดีนั่นเอง มันจะเจาะท้องปลาขนาดใหญ่เข้าไปกินอวัยวะภายในอย่างรวดเร็ว รุนแรง และบ้าคลั่ง ถึงแม้ว่าเราจะเอาปลาโชคร้ายดังกล่าว ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วก็ตาม บลูชาร์ค ที่ยังคงอยู่ในท้อง ก็ไม่หยุดกัดกินเครื่องในให้เสียเวลาครับ -*-
การเลี้ยงและการดูแลรักษา เมื่อเราได้ทราบถึงลักษณะทางชีววิทยาของปลาใดๆ ในธรรมชาติแล้ว เราย่อมปรับปรุงดัดแปลงความรู้ดังกล่าว นำมาใช้เลี้ยงปลาชนิดนั้นๆได้เสมอครับ บลูชาร์ค เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว ตลอดเวลา และว่ายอยู่กลางน้ำเป็นส่วนใหญ่ อยู่รวมฝูง กินเก่ง โตเร็ว โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ดังนั้น ตู้ที่ควรใช้เลี้ยงอย่างต่ำ ในระยะยาว ควรเป็นตู้ 48x20x20 นิ้วครับ หรือจะเล็กกว่านั้นก็ได้ ถ้าเลี้ยงจำนวนน้อย เช่น ไม่เกิน 5 ตัว อาจเลี้ยงในตู้ 30-36 นิ้ว ได้อีกนาน ระบบกรอง ใช้ กรองข้าง หรือกรองนอกก็แล้วแต่สะดวก สับสเตรท ก็หินพัมมีสเป็นหลัก ปะการังนิดหน่อย วางด้านบนด้วยใยแก้วเช่นเคย จัดตู้โล่งๆดีที่สุดครับ อาจปูพื้นบางๆด้วยหินกรวดกลม หรืออาจแต่งตู้แบบไม่รกก็ไม่มีปัญหา ปลาชนิดนี้ เป็นปลาฝูงครับ ถ้าจะให้สวย ก็ควรเลี้ยงเป็นฝูง สัก 5 ตัวขึ้นไป แต่ก็สามารถเลี้ยงเดี่ยวหรือน้อยกว่านั้นได้เช่นกัน ไม่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต แต่อาจดูไม่สวยงามเท่าที่ควร จนกว่ามันจะโต คุณภาพน้ำ เป็นเรื่องสำคัญครับ อย่าให้น้ำเน่าน้ำเสียเป็นอันขาด เพราะมันเป็นปลากินของสดและชอบน้ำที่มีออกซิเจนสูง คุณภาพดีครับ ทำระบบกรองของคุณให้มีประสิทธิภาพ การถ่ายน้ำ ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ทุกๆสัปดาห์ เป็นต้น ทำความสะอาดใยแก้วบ่อยๆ และอย่าลืมดูดเศษอาหารที่ด้วยนะครับ
ส่วนอาหาร ถ้าผู้เลี้ยงใจดี จะให้มันกินเรดเทล หรือ ไทเกอร์ฯ เหมือนในธรรมชาติก็ได้นะครับ แต่ถ้าไม่อยากทำแบบนั้น ปลาบลูชาร์ค วัยอ่อนขนาด 1-3 นิ้ว สามารถเลี้ยงด้วย ไรทะเล (ล้างและแช่น้ำจืดก่อนให้สัก 30 นาที) หนอนแดง เป็น หรือแช่แข็ง หรือไส้เดือนน้ำ ลูกน้ำ ได้เป็นอย่างดีและเหมาะสม สลับกับกุ้งฝอยเด็ดหัว เมื่อปลาโตขึ้นสัก 4 นิ้ว ก็ให้เฉพาะกุ้งฝอยเด็ดหัว เนื้อปลาสด เนื้อหอย หรือปลาที่พึ่งตายใหม่ๆก็ได้เช่นกัน และที่สำคัญ ปลาชนิดนี้ เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดได้สบายๆครับ โดยเฉพาะอาหารโปรตีนสูงๆ กลิ่นหอมๆทั้งหลาย เช่นเตทตร้าบิท ปลาพวกนี้ชอบมากๆครับ กินจนท้องกางแทบระเบิด เรียกได้ว่า เป็นปลาที่ไม่เลือกกินและไม่เรื่องมากเรื่องอาหารเลยครับ
ปลาชนิดนี้เป็นที่ทราบกันดีนะครับว่า มันมีพฤติกรรมการล่าเหยื่ออย่างไร ดังนั้น ผมจึงไม่ขอแนะนำให้ทุกท่านประมาท โดยการนำปลาชนิดอื่นๆใดๆทั้งสิ้น ลงไปเลี้ยงรวมกับพวกมันครับ แค่มีแผลนิดเดียว ก็ทำให้ปลาทั้งฝูง คลั่งได้แล้วครับ ไม่เหลือแน่นอน และที่สำคัญอีกอย่างคือ ถึงแม้ว่าปลาพวกนี้จะเป็นปลารวมฝูง และอยู่ด้วยกันได้ก็ตาม แต่ถ้ามีตัวใดบาดเจ็บ ป่วย หรือมีบาดแผล ควรรีบแยกออกมารักษานะครับ ไม่งั้นเพื่อนๆในฝูงจะช่วยกันส่งผู้ป่วยไปลงนรกได้อย่างรวดเร็วช่นกัน โรค ที่พบได้บ่อย ก็คือโรคจุดขาว ครับใช้การรักษาเดิมๆครับ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ปลาแคทฟิชแพ้ ส่วนปัญหาอื่นที่พบบ่อยๆก็คือ การป่วย เพราะคุณภาพน้ำไม่ดีเป็นระยะเวลานานๆ ขาดออกซิเจน ปลาก็จะไม่ว่ายน้ำ นอนนิ่งหรือหงายท้องอยู่ก้นตู้ครับ แก้ที่ต้นเหตุ ก็อาจจะรอดได้ ระวัง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและอุณหภูมิฉับพลันด้วยครับ มันค่อนข้างเซนสิทีฟตรงจุดนี้เช่นกัน
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 15:28 แก้ไขเมื่อ : 16 Jun 13 15:29
|
|
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 15:29
|
|
8.กระแมะ ตัวแบนพันธุ์พิฆาต ชื่อกระแมะสำหรับบางคนแล้วอาจจะฟังไม่ค้นหูแต่ถ้าเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กะปลาแม่น้ำไทยมานานจะต้องรู้จักมันแน่ๆ จริงๆแล้วกระแมะ(Chaca bakanensis)เป็นปลาในกลุ่มแคทฟิชที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่ใหญ่เทอะทะอย่างพวกญาติห่างไกลอย่างปลาบึกและปลาสวาย โดยที่โตเต็มที่มีขนาดแค่ 15-20 ซม.เท่านั้น กระแมะจัดเป็นปลานักล่าที่คอยควบคุมจำนวนปลาเล็กอย่างพวกปลาซิวที่อาศัยอยู่ในพรุได้อยู่อยู่หมัด โดยมีปากขนาดใหญ่และหนวดที่ขาดไม่ได้เลยเพราะเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อการหลอกลวงชั้นเยี่ยม หนวดที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2คู่โดยมี 1คู่หลักที่มุมปากและอีกคู่ที่ด้านใต้คาง มีลักษณะเรียวแต่สั้นๆมีสีขาวซีด และบางครั้งผมสักเกตว่ามันกระดิกได้เหมือนหนอนจริงๆด้วยอีกทั้งรูปร่างของปลากระแมะนั้นน่าเกลียดเกินที่จะออกมาว่ายอยู่กลางน้ำเหมือนปลาทั่วไป มันจึงพัฒนาหัวของมันให้แบนราบลงไปทางด้านหน้าซึ่งถ้ามองลงมาจากด้านบนจะเห็นว่าหัวมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยที่มีหัวแบบนี้ก็เพื่อไว้ซอนตัวใต้ไบใม้ที่ค่อนข้างรกในป่าพรุ ตามตัวมีตุ่มสากๆทั่วและด้านท้องก็ยังมีตุ่มขรุขระอีก ครีบอกมีขนาดเล็กมากใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย แต่กลับมีครีบท้องขนาดใหญ่ไว้ว่ายน้ำแทน ซึ่งส่วนมากก็ไม่ค่อยจะว่ายอยู่แล้วนั่นเอง ลืมบอกไปเลยว่าเจ้ากระแมะยังมีฝาแฝดของมันอีก 2 ชนิดเรามาดูปลาในวงศ์ Chacidae กันดีกว่าครับ.. ปลาในวงศ์ Chacidae
1. กระแมะ (Chaca bakanensis) พบในไทยทางภาคใต้ที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งเดียวเท่านั้น ไล่ไปจนถึงมาเลเซียและบอร์เนียว
2. กระแมะพม่า (Chaca bermensis) พบในประเทศพม่า เป็นปลาหายาก
3. กระแมะอินเดียหรือชาก้า ชาก้า (Chaca chaca) พบในอินเดีย เลี้ยงง่ายที่สุดใน3ชนิด
สำหรับวิธีเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เลี้ยงยากอยู่พอสมควร หากเราได้ปลาจากทางร้านมาในสภาพดี ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จากที่เคยสัมผัสมาพบว่าปลาจากร้านเดียวกัน ล็อทเดียวกัน แต่มียอมกินอาหารเพียง 2-3ตัวเท่านั้นจากประมาณ10กว่าตัว เพราะปลาพวกนี้ยังเพาะไม่ได้ ยังต้องรวบรวมมาจากธรรมชาติ เพื่อนำมาป้อนสู่ตลาดปลาสวยงามทุกๆปี และส่วนใหญ่เมื่อจากน้ำมาก็จะเครียดไม่กินาหารมีแผล ติดเชื้อและตายในที่สุด มีอยู่เพียงบางตัวเท่านั้นที่แข็งแรงยอมกินอาหารตั้งแต่วันแรกที่มาเลยก็มี วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เลือกปลาที่มอบอยู่กับพื้นที่ร้านอย่าเอาตัวที่ว่ายไปว่ายมาอยู่ข้างบนเพราะปลาชนิดนี้ไม่ชอบว่ายน้ำนะครับ ถ้ามันว่ายตลอดแสดงว่าผิดปกติแล้ว เลือกตัวที่ไม่มีแผลเลยจะดีที่สุด เพราะผมมั่นใจว่าตัวที่ไม่มีแผลต้องกินแน่ๆ หลีกเลี่ยงปลาที่มีแผลตรงก้านครีบอก และตามตัว อย่าคิดว่าเอามาเลี้ยงๆก็หายเอง กระแมะนะครับไม่ใช่หางนกยูง ปลาพวกนี้ไม่กินแล้วไม่กินตลอดนะครับ พูดตรงๆว่ามันไม่มีทางหายได้เลยถ้ามีแผลตรงไหนก็ตาม ถ้ามีแผลแล้วการตายภายใน 1 อาทิตย์เป็นเรื่องที่ตามมาง่ายๆ เรื่องของน้ำก็สำคัญยิ่งหากวันไหนที่คุณไปสวนจตุจักรแล้วไปเจอเจ้ากระแมะล่ะก็อย่าเพิ่งใจร้อนให้ไปเลือกตัวดีๆไว้ก่อนแล้วฝากไว้กะทางร้านเพื่อกลับบ้านไปทำน้ำป่าพรุเพื่อนำมาใช้เลี้ยงมันอย่างง่ายกันดีกว่าครับ
วิธีทำ ไปหาใบหูกวางแห้งๆที่มีขายตามร้านขายปลากัดมาหรือจะหาเก็บเองก็ได้ นำมาล้างให้สะอาดที่หาถังน้ำที่ไม่ใช้มา1ถังเพื่อใช้หมัก จากนั้นนำใบหูกวางทั้งหมดเทลงไปในถังแล้วใส่น้ำตามให้พอดีกับเศษใบหูกวาง หมักเอาไว้สัก 1อาทิตย์ให้น้ำมันกลายเป็นสีแดงๆดำๆเป็นใช้ได้ จากน้นก็นำไปเทลงตู้ที่มีน้ำสะอาดๆอยู่แล้ว พักไว้อีกวันนึงแล้วเราก็นำปลามาใส่ได้เลย เรื่องการจัดตู้นั้นแนะเลยว่าให้จัดโล่งๆไปเลยเพราะมันมีที่หลบเป็นเศษใบไม้อยู่แล้ว ถ้าเราต้องการจะดูว่ามันกินอาหารหรือเปล่าให้ลองนับจำนวนปลาเหยื่อที่ใส่ไปดู หรือจะทำแบบบุปเฟ่ก็ได้ปล่อยลงไปทีเดียวหมดถุง เวลาดูมันกินแล้วมีความสุขอย่างบอกไม่ถูกอาหารที่เหมาะกับปลาชนิดนี้คือ พวกปลาเหยื่อเล็กๆแต่ไม่แนะนำพวกปลานิลและปลากัดเพราะพวกนี้มันชอบหัวสูงไล่กัดหนวดกระแมะเฉยเลย ที่ผมให้เป็นลูกปลาสอดและปลาช่อนเสียส่วนใหญ่ ผมใช้ปล่อยลงไปหมดเลยดูว่ามันจะเป็นยังไงมั่ง ตอนแรกๆเจ้าลูกปลาช่อนก็รวมฝูงกันดีแต่พอหลังๆมันก็แยกย้ายกันหากินเอง อีตอนนี้แหละที่จะเสร็จกระแมะแล้วผมก็เห็นว่ามีลูกปลาตัวนึงไปเจอกับหนวดกระแมะพอดีเลยครับ เข้าแผนพอดี เจ้ากระแมะเห็นปลาน้อยด้อยปัญญาอยู่ตรงหน้าแล้ว จึงไม่รอช้ารีบวางเล่ห์กลทันทีโดยการส่ายหนวดของมันอย่างช้าๆเจ้าปลาปัญญาอ่อนจึงพุ่งชาร์ทเข้ามาใกล้ๆเรื่อยๆจนมาใกล้มากๆแล้วก็"ฮุบ"ฝูงปลากลับมารวมกันอีกครั้งน้ำขุ่นนิดหน่อยอันเนื่องจากการขยับตัวของฆาตกรปลาน้อยอยู่ในท้องเรียบร้อย ... ปลาชนิดนี้จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากมีปริมาณค่อนข้างน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติแล้วยังถุกจับมาขายตลาดปลาสวยงามอยู่ทุกๆปี ประกอบกับสภาพที่อยู่อาศัยที่ถูกคนบุกรุกทำสวนปล่อยปลาต่างถิ่นเข้าไปอย่างเอเลี่ยนสปีชี่พวกปลานิลปลาหมอครอสบรีด และการเผาป่าพรุโต๊ะแดงอันเป็นที่อยู่ที่เดียวในประเทศไทยที่พบปัจจุบันปลาชนิดนี้จึงอยู่ในสภาวะร่อแร่ ฉะนั้นเราๆจึงควรอนุรักษ์มันไว้ให้ลูกหลานได้อยู่ดูต่อไปด้วยเถิดครับ
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 16 Jun 13 15:44
|
|
ความคิดเห็นนี้ได้แตกไปยังกระทู้ 2847
จากคุณ : kitkom
เขียนเมื่อ : 17 Jun 13 17:16
|
|